วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของศิลปะไทย

ความเป็นมาของศิลปะไทย



 ไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป





ความมุ่งหมายของภาพไทย
เป็นภาพเล่าเรื่องให้ผู้ดูและผู้ชมเข้าใจ และเกิดสุนทรียภาพเมื่อรับรู้ความงาม ทางศิลปกรรม
เป็นการประดับตกแต่ง อาคาร โบสถ์ วิหารและ ปราสาทราชวัง เพื่อให้ เกิดบรรยากาศแห่งความงาม


สืบสานความเป็นมาของศิลปินไทย
ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพ โดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้น ศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยาก ลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอ จะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถ์วัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อน หน้าครูทั้งสองคิดว่าช่างไทย เขียนด้วย ความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาความสามารถ เพื่อผลกรรมดีของตนที่สร้าง ไว้เพื่อบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียน ในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ มืด ๆ โดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียน ได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบ เดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียง คดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนัก ก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ ทรงจำได้เหล่านั้น มาเขียนไว้บน บานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรง พระเยาว์เช่นกัน ได้ตามเสด็จประพาสต้น ของพระปิยะมหาราชไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัด กาญจนบุรี ครั้งนั้นคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ มี พันธุ์ไม้ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวย งาม ณ น้ำตกบริเวณพลับพลาที่พัก ใกล้น้ำตกไทรโยคนั้นเป็นที่รับแรง บันดาลใจจากธรรมชาติที่ร่มรื่น น้ำ ตกที่ไหลลงกระแทกกับโขดผาด้าน ล่าง เสียงร้องของสัตว์นานาชนิด ๆ ไม่ว่าจะ เป็นนกยูงหรือสัตว์อื่น ๆ ผสมผสานกับแรง ของน้ำตกและธรรมชาติงาม ทำให้ พระองค์ท่าน แต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น สำเร็จ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะลีลา ขับร้องฟังแล้วกินใจประทับใจ มิรู้ ลืมจนกลายเป็นเพลงไทยอมตะมาจน ถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือ สูงส่งระดับอัจฉริยะ พระองค์ได้คิดออก แบบพระอุโบสถวัดเบญจม-บพิธ โดยนำเอาศิลปะ ไทยเข้าประยุกต์กับปัจจุบันโดยมีหิน อ่อน กระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่าง งามลงตัวจนโครงสร้างพระอุโบสถ หลังนี้เป็นที่แปลกตาแปลกใจสวย งามอย่างมหัศจรรย์ ปัจจุบันเป็นที่ยกย่องว่า เป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย บรรดาช่างไทยต่อมาได้คิดเพียร พยายามสร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยฉบับ สำคัญ ๆ ที่ยึดถือในปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น