วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครั้งหนึ่ง กับงานของ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ครั้งหนึ่ง กับงานของ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) จิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายอย่าง ได้มีผลงานเช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย
เป็นจิตรกรที่มีฝีมือเป็นที่ยอมรับท่านหนึ่งของประเทศไทย เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว​(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล) และนางพรศรี อยู่สุข​ทำคลอดด้วยหมอตำแยชื่อยายตุ่น ชีวิตตอนเด็กๆ เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ ในตอนที่เรียนอยู่ตอนปีที่ 4 มีผลงานรูปวาดตามผนังของวัดไทยมากมาย ผลงานปัจจุบัน ท่านตั้งใจที่จะสร้างวัดร่องขุ่น ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ด้วยศิลปะไทยประยุกต์ หรือศิลปะสมัยใหม่







ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสได้ไปชมงานแสดงภาพของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อย่างใกล้ชิดที่งานเปิดตัวสลากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต
ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ค่อยได้ไปชมงานแสดงภาพศิลปะที่ไหนมากนัก เพราะด้วยความรู้เกี่ยวกับศิลปะที่มีนั้นต่ำเตี้ย เรี่ยดินเสียเหลือเกิน การได้รับเกียรติให้มาชมการแสดงภาพครั้งนี้ จึงรู้สึกมีความสุขมากกว่าครั้งไหน ๆ เพราะปกติจะชมดูงานของอาจารย์เฉลิมชัยอยู่แล้ว เพราะมีความรู้สึกว่าภาพของท่านให้ความ "อิ่มใจ" และ "ปิติ" ทุกครั้งที่ได้มอง ได้เสพทางสายตาแต่ทำปฏิกริยาที่หัวใจ
ดังนั้นจึงขอนำภาพต่าง ๆ ที่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้เห็นภาพชุดนี้ในรูปแบบต่าง ๆ กันมามากแล้ว แต่นอกเหนือจากภาพที่สวยงามแล้ว ยังมีคำบรรยายภาพและแนวคิดในการสร้างผลงานชิ้นนี้ร่วมอยู่ด้วย
ผลงาน 'เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ๑





เครดิต http://www.oknation.net/blog/print.php?id=552090

ศิลปะกับคน

วู้ดดี้เกิดมาคุย อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์






วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของศิลปะไทย

ความเป็นมาของศิลปะไทย



 ไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป





ความมุ่งหมายของภาพไทย
เป็นภาพเล่าเรื่องให้ผู้ดูและผู้ชมเข้าใจ และเกิดสุนทรียภาพเมื่อรับรู้ความงาม ทางศิลปกรรม
เป็นการประดับตกแต่ง อาคาร โบสถ์ วิหารและ ปราสาทราชวัง เพื่อให้ เกิดบรรยากาศแห่งความงาม


สืบสานความเป็นมาของศิลปินไทย
ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพ โดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้น ศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยาก ลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอ จะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถ์วัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อน หน้าครูทั้งสองคิดว่าช่างไทย เขียนด้วย ความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาความสามารถ เพื่อผลกรรมดีของตนที่สร้าง ไว้เพื่อบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียน ในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ มืด ๆ โดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียน ได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบ เดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียง คดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนัก ก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ ทรงจำได้เหล่านั้น มาเขียนไว้บน บานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรง พระเยาว์เช่นกัน ได้ตามเสด็จประพาสต้น ของพระปิยะมหาราชไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัด กาญจนบุรี ครั้งนั้นคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ มี พันธุ์ไม้ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวย งาม ณ น้ำตกบริเวณพลับพลาที่พัก ใกล้น้ำตกไทรโยคนั้นเป็นที่รับแรง บันดาลใจจากธรรมชาติที่ร่มรื่น น้ำ ตกที่ไหลลงกระแทกกับโขดผาด้าน ล่าง เสียงร้องของสัตว์นานาชนิด ๆ ไม่ว่าจะ เป็นนกยูงหรือสัตว์อื่น ๆ ผสมผสานกับแรง ของน้ำตกและธรรมชาติงาม ทำให้ พระองค์ท่าน แต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น สำเร็จ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะลีลา ขับร้องฟังแล้วกินใจประทับใจ มิรู้ ลืมจนกลายเป็นเพลงไทยอมตะมาจน ถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือ สูงส่งระดับอัจฉริยะ พระองค์ได้คิดออก แบบพระอุโบสถวัดเบญจม-บพิธ โดยนำเอาศิลปะ ไทยเข้าประยุกต์กับปัจจุบันโดยมีหิน อ่อน กระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่าง งามลงตัวจนโครงสร้างพระอุโบสถ หลังนี้เป็นที่แปลกตาแปลกใจสวย งามอย่างมหัศจรรย์ ปัจจุบันเป็นที่ยกย่องว่า เป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย บรรดาช่างไทยต่อมาได้คิดเพียร พยายามสร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยฉบับ สำคัญ ๆ ที่ยึดถือในปัจจุบัน


ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย


ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย


ประวัติศิลปะไทย
         ศิลปะไทย เป็นศิลปะประจำชาติของชาวไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษสมัยอดีตกาลได้เปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลและสมัยนิยมของแต่ละยุค เช่น อิทธิพลของอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับ พุทธศาสนาดินแดนนี้นามว่า “สุวรรณภูมิ” เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า “เมืองทอง” ดังกล่าว จากหลักฐานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในดินแดนไทยแบ่งได้ 3 ยุค คือ
         1.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ได้แก่
              1) ยุคหินเก่า ระยะเวลาประมาณห้าแสนปีถึงห้าหมื่นปี พบเครื่องมือหิน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย น่าน และลพบุรี เครื่องมือหินที่พบได้แก่ ขวานหินกะเทาะจากก้อนหินอย่างหยาบๆ
              2) ยุคหินกลาง ระยะเวลาประมาณหนึ่งหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินกะเทาะในท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลพบุรี สระบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เครื่องมือมีความประณีตงดงามมากขึ้นกว่าเดิม
              3) ยุคหินใหม่ ระยะเวลาประมาณห้าหมื่นปีถึงห้าพันปี พบเครื่องมือหินอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยรวมกันเป็นหมู่บ้าน บนหินใกล้แหล่งน้ำ รู้จักทำขวานหินให้ประณีตงดงาม รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ เครื่องประกอบพิธีกรรมต่างๆ นักโบราณคดีบางท่านให้ความเห็นว่ามนุษย์ยุคหินใหม่ในประเทศไทย คือ บรรพบุรุษของคนไทยเราในปัจจุบัน เครื่องมือที่พบ ได้แก่ ปลายหอก กำไลทำด้วยหิน หม้อหุงข้าว ภาชนะใส่อาหาร มีลวดลายเชือก ลายเสื่อ และลายจักสาน เป็นต้น
              4) ยุคโลหะ ระยะเวลาประมาณแปดพันปีถึงสองพันปีพบเครื่องโลหะและเครื่องดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณเจ็ดพันปีเศษ ที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ กลองมโหระทึก อาวุธ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ
                                               
                          ภาพที่ 2.1 เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
            พบภาพเขียนสีและภาพแกะสลักผนังถ้ำ ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคนี้ เช่น ถ้ำเขาเขียว ภาคกลางพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี และทางภาคใต้พบที่จังหวัดพังงาเป็นต้น
           ภาพเขียนและภาพแกะสลักบนผนังถ้ำ(Cave arts) ถือเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดเป็นวัฒนะธรรมการสร้างอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สีที่ใช้จะเป็นสีของดิน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีดำ เขียนเป็นภาพสัตว์ ลายเลขาคณิต และภาพคน
       1.2 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ชาติไทย  แบ่งตามหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ดังนี้
               1) ศิลปะรุ่นเก่า จากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากอินเดียมายังดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมทางศาสนามีผู้นำเข้ามา เช่น พระพุทธรูปขนาดเล็กหล่อด้วยสำริด เป็นศิลปะอมราวดี และพระพุทธศิลปะคุปตะของอินเดีย จึงเข้าใจว่าเป็นตัวอย่างในการสร้างพระพุทธรูป
               2)  สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘)  ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 แว่นแคว้นในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะทั้งหมด ได้รวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน รู้จักกันในชื่อ “อาณาจักรศรีวิชัย” อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ใดยังไม่มีข้อยุติ แต่เชื่อว่าคงจะอยู่บริเวณเมืองไชยา เพราะมีหลักฐานศิลปสมัยศรีวิชัยปรากฏอยู่ค่อนข้างชัดเจน แต่นักโบราณคดีบางท่านเห็นว่าศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยอยู่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา อย่างไรก็ตามอาณาจักรศรีวิชัย เป็นอาณาจักรที่มีอำนาจทางด้านการเมืองและการปกครองที่มั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ และคาบสมุทรมลายูทางตอนใต้ถึงเมืองไชยา ศรีวิชัย คงเป็นคนกลางในทางการค้า โดยทำหน้าที่ดูแลควบคุมการขนถ่ายสินค้า จัดการเดินเรือเสียใหม่ให้ผ่านช่องแคบมะละกา เชื่อมโยงเส้นทางการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดีย (ทางตะวันตก) กับทะเลจีน (ทางตะวันออก) เส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกามีความสะดวกมากกว่าการขนถ่านสินค้าข้ามคาบสมุทร ผลการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้าครั้งนี้ ทำให้คนกลางศรีวิชัย มีความมั่งคั่งมากขึ้น เป็นการผูกขาดการค้าทางทะเล จนกระทั่งกลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลในแถบนี้ เมืองตะโกลาสมัยนั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่งในความควบคุมดูแลของศรีวิชัย โดยทำหน้าที่เป็นเมืองพักเรือ สินค้าและศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า ก่อนที่จะส่งไปยังตะวันออกคือจีน โดยผ่านช่องแคบมะละกา หรือส่งต่อไปยังตะวันตกคือ อินเดีย อาหรับ เป็นต้น
                 ศิลปะศรีวิชัย บริเวณหมู่เกาะชวา มาเลเซีย และตอนใต้ของไทย ปัจจุบันคือ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศิลปวัตถุได้รับอิทธิพลต่อเนื่องจากชวาเป็นสำคัญ เช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด เป็นต้น
             ศิลปะสมัยศรีวิชัยเป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้  ซึ่งในสมัยศรีวิชัยมีการนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นส่วนใหญ่  จึงพบงานประติมา-กรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาแบบมหายาน
เช่น   การสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร   พระพุทธรูปรุ่นแรกๆที่พบมีอิทธิพลของศิลปะ อมราวดีและศิลปะคุปตะจากอินเดียปะปนอยู่ ต่อมาจึงมีลักษณะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น  และในตอนปลายช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑ ๘  ได้มี อิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปรากฏ เช่น  พระพุทธรูปนาคปรก  พบที่เมืองไชยา  หล่อขึ้น ใน พ.ศ. ๑๗๒๖
                 การแต่งกายของชาวศรีวิชัย ซึ่งอาศัยอยู่ในแหลมมาลายู เกาะสุมาตตราและชวา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-17 ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเดีย กรมศิลปกร ได้จัดเครื่องเเต่งกายเลียนเเบบประติมากรรม ที่พบในสมัยนี้สมมติ เป็นชาวศรีวิชัยฐานะ ต่างๆ ถือดอกไม้ ธูป เทียน เดินทักษิณาวัฏรอบองค์พระบรมธาตุไชยา อันเป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญ ในสมัยนั้น                      
            การแต่งกายของสตรี นิยมเกล้าผมยาวทำเป็นรูปพุ่มทรงข้าวบิณฑ์สามกลีบ แล้วเกล้าผมสูงเป็นลำขึ้นไป รวบผมด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลงมาด้านหน้า บางทีทำทรงผมมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศรีษะ แต่ใช้รัดเกล้า รัดเป็นชั้นๆ แล้วปล่อยชายผม ให้ประบ่าทั้งสองข้าง ผู้หญิงสมัยนี้ชอบตกแต่งด้วยต่างหูแผ่นกลม จำหลักเป็น กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่บ้างทำเป็นลายเชิงกรวยหรือก้านต่อ ดอกบ้าง ตบแต่งลำคอด้วยกรองคอเส้นเกลี้ยง มีทับทรวงประบ่า ลำแขน ประดับด้วยทองกร หรือพาหุรัดทำด้วยโลหะลูกปัด ร้อยเป็นพวงอุบะ นุ่งผ้าครึ่งแข้ง มีปลายบาน ยกขอบก็มี ที่นุ่งผ้าผืนยาวบางแนบเนื้อ คล้ายของผู้ชายก็มี ขอบผ้าชั้นบนทำเป็นวงโค้ง เห็นส่วน ท้องบางทีมีเข็มขัดผ้า ปล่อยชายลงไปทางด้านขวา นิยมใส่กำไรมือและเท้า
            อิทธิพลของศิลปะศรีวิชัยที่ปรากฏในประเทศไทย คือการสร้างพระพุทธรูปและพุทธเจดีย์ เช่นพระมหาธาตุเมืองไชยา พระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช มรดกทางวัฒนธรรม ดินแดนประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมสมัยศรีวิชัยที่แผ่เข้ามาทางตอนใต้ สิ่งที่รับสืบทอดต่อมาคือ การนับถือพุทธศาสนาและการสร้างพระพุทธรูปศิลปะสมัยศรีวิชัยที่มีลักษณะสวยงาม  ด้านเศรษฐกิจ มีรูปแบบการค้าแบบพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวตะวันตกเช่น อินเดีย เปอร์เชียโรมันและอาหรับกับชาวตะวันออก เช่นจีน จามปา เขมร รวมทั้งอาณาจักรทวารวดี ในภาคกลางของไทยลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย องค์พระมักอวบอ้วนกว่าสมัยทวารวดี คือคล้ายพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละมากกว่าราชวงศ์คุปตะ  พระเกตุมาลา เป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดีแต่ขมวดพระเกตุเล็กละเอียดกว่าสมัยทวารวดี โดยมากมีไรพระศกแต่ถ้าไม่มีไรพระศกมักมีอุณาโลมในระหว่างพระโขนง  และมีใบโพธิ์ติดที่พระเกตุมาลา พระนลาตเรียบ  พระโขนงโด่ง พระพักตร์แบนเหมือนสมัยทวารวดี แต่พระหนุไม่ป้านเหมือนสมัยทวารวดี พระโอษฐ์ไม่แบะ พระชายสังฆาฏิมีทั้งอย่างสั้นอยู่เหนือพระถันและยาวลงมาถึงพระนาภี บัวรองฐานกลีบใหญ่มีส่วนกว้างมากกว่าของสมัยทวารวดี กับมีกลีบเล็กแซมตั้งแต่ 1-3 กลีบ เกสรละเอียดพระหัตถ์และพระบาทมักทำได้ส่วนกับพระองค์ ไม่ใหญ่เหมือนสมัยทวารวดี ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วด้วย แต่ต่างกับสมัยทวารวดี ซึ่งมักทำเป็นเก้าอี้ สมัยนี้มักทำเป็นรูปใบโพธิ์และมียอดเป็นฉัตร ถ้าเป็นพระยืนบางทีไม่มีชายจีวรเลย ที่มีชายจีวรสองข้างและข้างเดียวเหมือนสมัยทวารวดีก็มี
          ศิลปกรรมศรีวิชัยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ และราชวงศ์ปาละ-เสนะตามลำดับ ศิลปกรรมส่วนใหญ่พบแต่รูปเคารพทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ส่วนอาคารโบราณสถานพบน้อย ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะสถูปเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างเป็นสถูปหินซ้อนเป็นชั้นๆ ตอนบนเป็นสถูปขนาดเล็ก สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปศรีวิชัยได้รับการสืบทอดบนเกาะชวาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระมหาสถูปเจดีย์บุโรพุทโธ ศิลปวัตถุที่พบทางภาคใต้ของไทย  คล้ายของชวา ส่วนใหญ่นิยมสร้างแบบมหายาน ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นการปั้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์สำคัญของลัทธินี้ องค์ที่พบที่ไชยานับว่าเป็นพุทธปฏิมากรชิ้นเอกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และมีพระพุทธรูปมารวิชัยนาคปรก พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            ลักษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ  ศิลปะอมราวดี  ศิลปะคุปตะ   ศิลปะหลังคุปตะ  และศิลปะปาละ ที่ มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่   ศิลปะคุปตะ   เช่น   การครองจีวรห่มคลุม  จีวรเรียบไม่มีริ้ว   การยืนเอียงตนแบบตริภังค์  คือ  การยืนเอียงตน  ทั้ง ๓ ส่วน ได้แก่  พระอังสา (ไหล่)  พระโสณี  (สะโพก)  และพระชงฆ์ (ขา)  ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น  เช่น  พระพักตร์กลมแป้น  พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา  พระนาสิกแบน   พระโอษฐ์หนาแบะ  พระพุทธรูปประทับยืนตรง  ไม่ทำตริภังค์   และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง ๒ พระหัตถ์   อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น  ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย   เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว)     อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี  ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา  เช่น  การทำ พระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง ๒ ข้าง)  ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย  ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆ เสื่อมไป  และมีอิทธิพลของศิลปะเขมร เข้ามาแทนที่  
                อาณาจักรศรีวิชัยเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏศิลปะในพุทธศาสนาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์จากอินเดียเช่นเดียวกัน ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย แผ่เข้ามาทางตอนใต้ของประเทศไทย ดังเช่น พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์เหลี่ยมทรงมณฑปและเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดแก้ว ที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนตอนบนของประเทศไทยคือมณฑปเจดีย์วัดเจ็ดแถวที่สวรรคโลก เจดีย์ในวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยและเจดีย์องค์เล็กในวัดพระธาตุหริภุญชัย ลักษณะเจดีย์เป็นครึ่งวงกลมหรือทรงระฆังตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมเตี้ยๆ มีรูปช้างที่ฐานโดยรอบ ตามความเชื่อของลัทธิลังกาเชื่อว่าช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาล  
          ด้านประติมากรรม มีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียง คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่วัดมหาธาตุ อำเเภอไชยา                        
                                           ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
             มีพระพิมพ์ดินดิบปางต่างๆ พระพิมพ์ติดแผ่นเงินแผ่นทอง ทางด้านศาสนาพราหมณ์ได้แก่ เทวรูปพระอิศวร พระอุมา เทวรูปทรงพระมาลาแขก เทวรูป พระนารายณ์ทรงครุฑ เครื่องมือเครื่องใช้มีเครื่องปั้นดินเผาทำเป็นภาชนะหม้อไหใช้สีเขียนลวดลายและทำเป็นแบบลูกจันทน์นูนขึ้นประดับลวดลายอื่นๆ มีลูกปัดทำเครื่องประดับ มีเงินกลมใช้เรียกว่า นะโม และเงินเหรียญชนิดหนาใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งมีตราดอกจันทน์อยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีตัวอักษรสันสกฤตเขียนว่า “วร” ประดับอยู่
            3) ศิลปะทวารวดี  อาณาจักรทวารวดี เจริญรุ่งเรืองขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และได้แผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่รับมาจากอินเดียไปทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  คำว่า ทวารวดี ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีนรูปหนึ่ง และได้เทียบคำว่า อาณาจักร โต-โล-โป-ตี้ หรือ ตว้อ-หลอ-ปอ-ตี้ ตามสำเนียงจีน ว่า ตรงกับคำว่า  อาณาจักร ท-วา-ร-ว-ดี บันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ซึ่งบันทึกไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร
(ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า)และอาณาจักรอิศานปุระ  อยู่ในประเทศกัมพูชา ดังนั้นอาณาจักรทวารวดีจึงตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ประชาชนของทวารวดีเป็นชาวมอญ อพยพมาจากแถบตะวันตกของจีนลงมาทางใต้ตามลำน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน เข้าสู่พม่าตอนล่าง และดินแดนลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 6
          อาณาจักรทวารวดี อยู่พุทธศตวรรษที่ 11 – 16  ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดที่พบศิลปวัตถุ ได้แก่ สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรี และนครปฐม ราชธานีของอาณาจักรทวารวดีไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีเชื่อว่าน่าจะเป็นนครปฐม
        การแต่งกาย   ของบุคคลสมัยทวารวดี พิจารณาจากภาพประติมากรรมตกแต่ง โบราณสถานต่างๆ ซึ่งกรมศิลปกร ขุดได้จากตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรีและ อำเภอ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของทวารวดี มีลักษณะคล้ายคลึง กับวัฒนธรรมของชาวอินเดีย                            
               การแต่งกายที่กรมศิลปกรจัดทำขึ้นจาก แบบอย่างประติมากรรมในชุดนี้ แสดงให้เห็น ตอนนำเครื่องสักการะ ไปบูชาพระพุทธรูป สตรีชาวทวารวดีส่วนใหญ่ทำผมเกล้ามวย หรือถักเปียเป็นจอมสูงขึ้นไปเหนือศรีษะ รัดตรงกลาง ให้ตอนบนสยายออก เป็นแฉกๆ อย่างน่าชม บางครั้งก็พบว่าถักเปียจัดเรียงเป็นเส้นลงมา เป็นกรอบวงหน้า นิยมประดับ ด้วยต่างห ูทำเป็นแผ่นกลมหรือห่วงกลม ตกแต่งส่วนคอด้วย สายสร้อย ทำเป็น แผ่นทับทรวง เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูน จำหลักเป็นลวดลายนก ไม่นิยม การสวมเสื้อ ใช้ผ้าสะพายเฉียงบางๆ เฉวียงบ่าซ้ายไพล่ มาข้างขวา ประดับต้นแขน ด้วยกำไรเล็กๆ ซึ่งทำด้วยทองคำสำริดและลูกปัดมีค่าสีต่างๆ ไม่สวมรองเท้า นุ่งผ้าผืนเดียวทับซ้อนกัน ข้างหน้า แล้วทิ้งชายแนบลำตัว    
                  ศิลปกรรมประติมากรรมระยะแรกเลียนแบบศิลปะอินเดีย ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นศิลาจำหลักและลายปูนปั้น มีทั้งพระพุทธรูป เสมาธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระพิมพ์ และลายปูนปั้นแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่วนอาคารสร้างด้วยอิฐนาดใหญ่ และศิลาแลงประดับลายปูนปั้น ชาวทวารวดีเป็นพุทธมามกะที่เคร่งครัด มีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อการเคารพ
บูชาเป็นจำนวนมาก ลักษณะพระพุทธรูปสมัยนี้ คือรูปร่างองค์พระสะโอดสะองพระอังสะใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก จีวรบางแนบติดองค์  พระพักตร์แบนบ่งความเป็นท้องถิ่น คือขมวดพระเกศาใหญ่
พระพักตร์กว้าง พระขนงโค้งติดกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์หนา พระพุทธรูปมักเป็นท่าประทับยืนตรง พระหัตถ์มักอยู่ในกิริยาแสดงธรรมทั้งสองพระหัตถ์
                แบบประทับนั่งสมาธิและแบบนั่งห้อยพระบาททั้งสองข้างคล้ายนั่งเก้าอี้  ส่วนใหญ่มักสร้างด้วยศิลา มีชิน (หมายถึง โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง) บ้างก็มีแต่องค์เล็ก นอกนั้นที่พบมักเป็นรูปธรรมจักรมีกวางหมอบอยู่ข้างล่างด้านหน้า พระพุทธรูป มีทั้งสลักจากหินทำด้วยดินเผา และหล่อด้วยสำริด สมัยแรกทำตามอย่างอินเดียอย่างมาก  ต่อมาผสมผสานอิทธิพลพื้นเมืองจนเป็นแบบเฉพาะของทวารวดี ธรรมจักรและกวางหมอบ  สลักจากหิน แสดงถึงปฐมเทศนาพระพิมพ์ พบมากเช่นกัน  สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระศาสนา พบคล้ายคลึงกันในเมืองโบราณทุกแห่ง ทุกภาคของประเทศ ประติมากรรมสมัยนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายทางภาคกลางและตะวันตกของอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-11  จนถึงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13  ซึ่งสมัยคุปตะเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด เรียกว่า คลาสสิกของอินเดีย
          ด้านสถาปัตยกรรมยังไม่รู้ลักษณะที่แน่นอนเนื่องจากหลักฐานที่เหลืออยู่น้อย คือ มักจะเหลือ
แต่บริเวณฐานหรือถูซ่อมแซมมาหลายสมัย เช่น เจดีย์วัดจามเทวี(วัดกู่กุด) จังหวัดลำพูนที่อาจจะเป็น
เจดีย์ปลายสมัยทวารวดีแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ในรูปเจดีย์จำลอง หรือ
สลักอยู่ในประติมากรรมนูนสูงสถูปเจดีย์ เหลือแต่ฐาน ส่วนบนพังทลายหมด แผนผังฐานรูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดยื่นเป็นทางขึ้นลงทั้งสี่ด้าน ที่ผนังฐานทั้งสี่จะใช้ปูนปั้นหรือดินเผา
หุ้มประดับเป็นภาพเล่าเรื่องนิทานชาดกในพระพุทธศาสนา บางครั้งมีรูปเทวดาหรือคนแคระแบก
จากองค์สถูปจำลองที่พบสันนิษฐานว่า
           โบราณสถานจริงนั้นเหนือฐานขึ้นไปคงก่ออิฐเป็นห้องสี่เหลี่ยมหรือมีองค์ระฆังทรงกลมอยู่ตอนบนเหนือขึ้นไปเป็นแผ่นวงกลมซ้อนขึ้นไปเป็นรูปเรียวสอบ สถูปเจดีย์สร้างด้วยอิฐแผ่นขนาดใหญ่ เนื้ออิฐมีแกลบปนอยู่มากเป็นเอกลักษณ์ การสร้างไม่ใช้ปูนเชื่อมอิฐแต่ละแผ่น  แต่จะใช้ดินเนื้อละเอียดบาง ๆ  ที่ผสมยางไม้เชื่อมแทนรูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอาณาจักรทวารวดีล่มสลายลงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16  เนื่องจากเขมรได้ขยายอำนาจการปกครองเข้ามายังบริเวณภาคกลางของประเทศไทย  มรดกทางวัฒนธรรม ด้านวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ การบวช คติความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ การสร้างพระพิมพ์และพระพุทธรูป วัฒนธรรมสมัยทวารวดี ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นและทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีแกนกลางในการหลอมรวมและผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนแต่ละกลุ่มให้มีวัฒนธรรมเดียวกันคือ “วัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ”

        เช่น ธรรมเนียมการบูชาพระบรมธาตุแพร่หลายมากในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานจากการสร้างเสมา อันเป็นศิลปะสมัยทวารวดี แสดงการสลักภาพสถูป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การบูชาพระธาตุ การสร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน การสร้างเจดีย์โดยใช้อิฐดินเผาเป็นวัสดุก่อสร้างและฉาบด้วยปูนซีเมนต์ นอกจากนั้นศิลปะด้านประติมากรรมยังมีการสืบทอดการสร้างพระพุทธรูป และการทำลวดลายปูนปั้นเป็นรูปคน ยักษ์ และสัตว์ต่างๆ เพื่อประดับตกแต่ง ศาสนสถานให้ดูสวยงาม

                  4)  ศิลปะสมัยลพบุรี  “สมัยลพบุรี”เป็นชื่อสมมุติเพื่อใช้เรียกสมัยทางวัฒนธรรมสมัยหนึ่งที่วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายวัฒนธรรมขอมหรือเขมรในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ "สมัยลพบุรี"จัดว่าเกิดขึ้นร่วมสมัยและสืบต่อจากวัฒนธรรมทวารวดี ปัจจุบันอาจเรียกชื่อได้ต่างๆกันตามเหตุผลของนักวิชาการซึ่งส่วนมากมักใช้รูปแบบศิลปกรรมที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนด ดังนี้
        “ศิลปะเขมร” พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกิเยอร์ ( Lunet De Lajonquiere) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้เรียกเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุผลว่าศิลปโบราณวัตถุสถานที่พบนั้นมีลักษณะที่คล้ายหรือเหมือนกับศิลปะเขมรในประเทศกัมพูชามาก ต่อมาคำนี้ได้ถูกนำมาเรียกใช้อีกครั้งโดยด.ร.พิริยะ ไกรฤกษ์ (พ.ศ. ๒๕๒๐ ) เพื่อคัดค้านคำเรียกศิลปะสมัยนี้โดยนักวิชาการบางท่านว่า “ศิลปะสมัยลพบุรี”
         “ศิลปะสมัยลพบุรี” กำหนดขึ้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๗ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและศ.ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรจารึกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวฝรั่งเศส ที่เชื่อว่าเมืองลพบุรีเป็นเมืองสำคัญในระยะเวลาที่เขมรแพร่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย และเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเชื้อชาติเพื่อขจัดปัญหาทางการเมืองในยุคแสวงหาอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกในระยะนั้น คำว่า"ศิลปะสมัยลพบุรี" เป็นที่ยอมรับและถูกนำเผยแพร่ต่อมาอย่างกว้างขวางโดยหม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ผู้เป็นโอรส (พ.ศ. ๒๕๑๐) โดยทรงนิยามคำเพิ่มเติมด้วยว่า "ศิลปะสมัยลพบุรี" หมายถึงโบราณวัตถุสถานขอมที่ค้นพบในประเทศไทย รวมทั้งโบราณวัตถุสถานที่ทำขึ้นในประเทศไทย แต่ทำเลียนแบบศิลปะขอมในประเทศกัมพูชา กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๐ หรือตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๐
         “ศิลปะลพบุรี" และ "ศิลปะขอมหรือเขมรในประเทศไทย” เมื่อมีผู้คัดค้านเรื่องเมืองลพบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ยังเป็นเมืองในสมัยวัฒนธรรมทวารวดีอยู่ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงเสนอว่า หากไม่เรียกว่า "ศิลปะลพบุรี" โดยตัดคำว่า"สมัย"ออก ก็ควรใช้คำว่า"ศิลปะขอม(หรือเขมร)ในประเทศไทย"แทน เพราะศิลปกรรมแบบเขมรที่พบในประเทศไทยบางแห่งหรือบางชิ้นนั้นแตกต่างและสวยงามกว่าที่พบในประเทศกัมพูชาในสมัยเดียวกัน จึงอาจสร้างขึ้นเลียนแบบโดยคนท้องถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย มิใช่ชาวเขมรทำ

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย



ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1.      จิตรกรรมไทย
2.      ประติมากรรมไทย
3.      สถาปัตยกรรมไทย



จิตรกรรมไทย   Thai  Painting
    จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่าง
จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน   ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลงคลี่คลายตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจ  และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
     ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้
ต่าง ๆ เครื่องประดับ   ฯลฯ  เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก
ธรรมชาติมาประกอบ  เช่น  ลายกนก  ลายกระจัง  ลายประจำยาม  ลายเครือเถา เป็นต้นหรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทยเป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี  ชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย  งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์ น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม   ที่ปรากฎในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยนละมุนละไม     สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์  วิหาร  พระที่นั่ง  วัง บนผืนผ้า  บนกระดาษ  และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง  ๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ   เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ  พุทธประวัติ  ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับฝนังพระอุโบสถวิหารอันเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะแบบอุดมคติ (Idealistic) ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์  ซึ่งคล้ายกับงานจิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย  ศรีลังกา จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2  มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ    จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง   โดยรอบโบสถ์วิหารและผนังด้าน
หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และหหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลาย ๆ    สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงาม และสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้ เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา  นางฟ้า  กษัตริย์  นางพญา  นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่า ด้วยลีลาอันชดช้อย     แสดงอารมณ์ความรู้สึกปิติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง  ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่างทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด  คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน   สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า   ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์   สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้
อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ สมควรจะได้อนุรักษ์สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย  (Thai  Contempolary  Painting) จิตรกรรมไทยร่วมสมัย  เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก
ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง  การรับรู้ข่าวสารความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ       เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด และแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มา  ซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม  ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต  ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดและความนิยมในสังคม
สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าเช่นดียวกัน  อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่าง  ๆ   ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน

ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล แบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตที่สำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มี
อารยธรรมอันเก่าแก่ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความ สำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1.      คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
2.      คุณค่าในทางศิลปะ
3.      คุณค่าในเรื่องเชื้อชาติ
4.      คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม
5.      คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา
6.      คุณค่าในด้านโบราณคดี
7.      คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม
8.      คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม
9.      คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา
10.  คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา
11.  คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
 


ประติมากรรมไทย   Thai  Sculpture
     หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3  มิติ  ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน  ปูน  หิน  อิฐ โลหะ
ไม้ งาช้าง  เขาสัตว์ กระดูก  ฯลฯ    ผลงานประติมากรรมไทย  มีทั้งแบบนูนต่ำ  นูนสูง และลอยตัว    งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก
นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรม แบบลอยตัวด้วย สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา  ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล
ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป  เนื่องจาก เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง   ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น  และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง
ศักดิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี ้

ศิลปะทวารวดี  พุทธศตวรรษที่ 11-16
ศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า        อยู่แถบนครปฐม  ราชบุรี  อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี  และขึ้นมาทางเหนือแถบลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ    พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์ แบนกว้าง พระหนุป้าน  พระนาฏแคบ พระนาสิกป้านใหญ่พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่    

ศิลปะศรีวิชัย    พุทธศตวรรษที่ 13 - 18
อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป     โดยเฉพาะที่เมืองไชยา    จ.สุราษฎร์ธานี นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตามลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด     พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน     พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16 - 18
ศิลปะลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของ ชนชาติ ขอม     แต่เดิมเป็นศิลปะขอม  แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์นั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระ
เนตรโปน  พระโอษฐ์แบะกว้าง   พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน   บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ          

ศิลปะล้านนา    พุทธศตวรรษที่ 16 – 21
      ศิลปะล้านนา หรือศิลปะเชียงแสน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยและมีลักษณะเก่าแก่มาก  คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดีและลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย  ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังราย
ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน  ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา   ซึ่งมักเรียกว่า  แบบเชียงแสน   คือ พระวรกายอวบอูม  พระ
พักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย     พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ท่านั่งขัดมาธิเพชร
ศิลปะสุโขทัย    พุทธศตวรรษที่ 17 – 20
        อาณาจักรสุโขทัย  นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึงนับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย   ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์คลี่คลาย สังเคราะห์บ บนแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง จนได้รูปแบบที่งดงามพระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง  ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง   เส้นรอบนอกโค้งงามได้จังหวะ    พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน    ยิ้มพองาม   พระขนงโก่ง รับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย  พระโอษฐ์แย้มอิ่ม   ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง   พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย  ไม่มีไร พระศก  พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช    พระพุทธชินสีห์  พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และพระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว  ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส  เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มีผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ที่ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
                                       
ศิลปะอู่ทอง      พุทธศตวรรษที่ 17 – 20
อาณาจักรอู่ทอง  เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี   ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ    ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า   พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก  สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี    ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็นแบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย

ศิลปะอยุธยา     พุทธศตวรรษที่ 19 – 24
อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ และ เครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์ ฯลฯ      ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็นการผสมผสานศิลปะแบบอื่น ๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง  พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย  พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง  พระขนงโก่งแบบสุโขทัย   สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่เป็นเขี้ยวตะขาบแบบเชียงแสนหรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช

ศิลปะรัตนโกสินทร์พุทธศตวรรษที่ 25 – ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น   เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน  เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป    ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4  มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา  หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง   2  ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่างของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทยแบบร่วมสมัยในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญา ฯ   พระประธานพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความเหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
 


    สถาปัตยกรรมไทย    Thai  Architecture
    สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร  บ้านเรือน  โบสถ์  วิหาร  วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ   ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง    การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง  ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะ มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก  เพราะมีความเชื่อความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่มักนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น  สถูป   เจดีย์   โบสถ์   วิหาร หรือพระราชวัง  เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน   มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน      และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา   อีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน  มีอายุยาวนานปรากฏเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี สถาปัตยกรรมไทย สามารถจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งานได้  2  ประเภท คือ
   สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชนธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้และเรือนปูน  เรือนไม้มีอยู่   2   ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่  ปูด้วยฟากไม้ไผ่   หลังคามุงด้วยใบจาก  หญ้าคาหรือใบไม้  อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้ง เนื้ออ่อนและเนื้อแข็งตามแต่ละท้องถิ่น   หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา  พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด    ลักษณะเรือน
ไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน        และโดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ   เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว  ใต้ถุนสูง  หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ
ใช้เรียกที่ประทับชั้นรองของพระมหากษัตริย์ สำหรับระราชวัง เป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์  พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการหรือกิจการอื่น
          2. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ  วิหารใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ  สามเณร     หอไตร  เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์สำคัญทางศาสนา หอระฆังและหอกลอง เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยามหรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน  สถูป เป็นที่ฝังศพ เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา  ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารี
ริกธาตุของพระพุทธเจ้า
2. ธรรมเจดีย์ หมายถึง  พระธรรม   พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่าง
ของพระพุทธเจ้า
3. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า หรือของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
4. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้น     เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ   ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป  ธรรมจักร  ต้นโพธิ์  เป็นต้น